คดีผู้บริโภค และ การป้องกันและปราบปรามการทุจริต-ภาคประชาชน 0882229663

ให้การช่วยเหลือประชาชนด้านกฎหมาย ฟรี
เราเปิดเพจแล้วตามคำเรียกร้อง 22/11/2561 เพจ คดีผู้บริโภค

โทรศัพท์ติดโปร คำพิพากษา ค่าบริการโทรศัพท์ 2564

เตือนครั้งสุดท้าย จดหมายทวงหนี้ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต เครื่องติดโปร 17/10/2564


คลิปใหม่ 2564
บัตรATM paywave อันตราย, บัตรหายต้องรีบแจ้งอายัด


———————————————————————————
รวมคลิป VDO ที่ให้ความรู้ 2564



———————————————————————————
สรุปใหม่

———————————————————————————
———————————————————————————

รวมคลิปทั้งหมดที่ผมทำและคิดว่าเป็นประโยชน์ ต่อพวกท่านครับ
หากมีคลิปใหม่ๆหรือเรื่องสำคัญ เราจะ Update ให้ท่าน ในนี้เลย

คลิปโดนสแปม รอทำใหม่
 

อิงข้อมูล ศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา ณ วันที่ 23/08/2563

1. คดีแพ่งระหว่างผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคตามมาตรา 19 หรือตามกฎหมายอื่น กับผู้ประกอบธุรกิจซึ่งพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ
2. คดีแพ่งตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
3. คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกันกับคดีตาม (1) หรือ (2)

– พ.ร.บ.คุ้มครองคดีผู้บริโภค พ.ศ.2552    – วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551    – พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551   -พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม

 

ผู้เกี่ยวข้องในคดี
1. ผู้บริโภค หมายถึง ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการและหมายความรวมถึง ผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม
2. ผู้ประกอบธุรกิจ หมายถึง ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้าหรือผู้ให้บริการ
3. ผู้เสียหาย หมายถึง ผู้ได้รับความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยไม่ว่าจะ เป็นความเสียหายต่อชีวิตร่างกายสุขภาพอนามัยจิตใจหรือทรัพย์สินแต่ไม่รวมถึงความเสียหายต่อสินค้าที่ไม่ปลอดภัยนั้น

 ตัวอย่างคดีผู้บริโภค เช่น

1. คดีซื้อขาย เช่น บ้าน อาคารพาณิชย์ อาคารชุด ที่ดิน สินค้าอุปโภคบริโภค
2. คดีเช่าทรัพย์ เช่น บ้าน ห้องชุด หอพัก
3. คดีเช่าซื้อ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
4. คดีจ้างทำของ เช่น ก่อสร้างบ้าน ต่อเติมบ้าน ซ่อมบ้าน
5. คดีรับขน เช่น บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ ทางน้ำหรือทางบก
6. คดีสินเชื่อส่วนบุคคล กู้ยืม ค้ำประกัน จำนำ จำนอง
7. คดีบัตรเครดิต
8. คดีกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ)
9. คดีประกันภัย เช่น ประกันวินาศภัย ประกันชีวิต
10. คดีสินค้าไม่ปลอดภัย เช่น ยา อาหาร เครื่องสำอาง ยานพาหนะเครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือ
11. คดีบริการสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรคมนาคม  
12. คดีบริการสาธารณสุขและความงาม เช่น สถานบริการความงามและสุขภาพ
13. คดีสื่อสารมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต
14. คดีบริการธุรกรรมทางธนาคาร เช่น ฝากเงิน ถอนเงิน
15. คดีบริการด้านการศึกษา เช่น สถาบันสอนภาษาหรือโรงเรียนกวดวิชา
16. ด้านการกีฬา เช่น ให้เช่าสนามฟุตบอล สนามเทนนิส สนามกอล์ฟ ฟิสเนส
17. คดีนิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลบ้านจัดสรร

ตัวอย่างคดีที่ไม่ใช่คดีผู้บริโภค เช่น

1. คดีอาญา
2. คดีละเมิดทั่วไปซึ่งไม่ใช่ความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
3. คดีเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
4. คดีครอบครัว คดีมรดก
5. คดีของศาลชำนัญพิเศษหรือศาลแรงงาน ศาลภาษี ศาลล้มละลาย   ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
6. คดีแพ่งทั่วไปที่พิพาทกันระหว่างประชาชนกับประชาชนด้วยกันเอง ไม่ใช่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นผู้ประกอบธุรกิจหรือระหว่างผู้ประกอบธุรกิจพิพาทกันเอง เป็นต้น

ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ให้ประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงกระบวนพิจารณาใดๆที่ได้กระทำไปก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยนั้น

การขอให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
ถ้าเป็นการขอในคดีผู้บริโภคต้องกระทำอย่างช้าในวันนัดพิจารณา ถ้าเป็นการขอในคดีอื่นต้องกระทำอย่างช้าในวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถานหากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วห้ามมิให้มีการขอให้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวอีก

การฟ้องคดีผู้บริโภค

1. เขตอำนาจศาลผู้บริโภคหรือผู้เสียหายมีสิทธิ์ยื่นฟ้องผู้ประกอบธุรกิจต่อศาลที่ข้อมูลคดีเกิดหรือต่อศาลที่ผู้ประกอบธุรกิจมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลก็ได้ แต่ผู้ประกอบธุรกิจจะฟ้องผู้บริโภคได้แต่เฉพาะศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น
2. ผู้บริโภคจะฟ้องคดีด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้
3. ค่าฤชาธรรมเนียมศาลผู้บริโภคได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงตั้งแต่ยื่นฟ้องตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ แต่ไม่รวมถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุด เว้นแต่ผู้บริโภคนำคดีมาฟ้องโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือเรียกร้องค่าเสียหายเกินสมควรหรือประพฤติตนไม่เรียบร้อยหรือดำเนินกระบวนพิจารณาอันมีลักษณะเป็นการประวิงคดีหรือที่ไม่จำเป็นหรือ มีพฤติการณ์อื่นที่ศาลเห็นสมควร ศาลอาจมีคำสั่งให้บุคคลนั้นชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่ได้รับการยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหากไม่ปฏิบัติตามศาลอาจมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้
4. ถ้าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจจะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลทั้งปวง จะไม่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม

การอุทธรณ์

1. การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีผู้บริโภค ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคหรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภคภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น
2. ในคดีผู้บริโภคที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง  ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์เห็นว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์ผู้อุทธรณ์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง เพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคหรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภค ไปพร้อมกับอุทธรณ์ ในกรณีเช่นว่านี้เมื่อศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์แล้วเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามก็ให้ส่งอุทธรณ์และคำขอดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคหรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภคเพื่อพิจารณา แต่ถ้าศาลชั้นต้นเห็นว่าอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ต้องห้ามก็ให้มีคำสั่ง รับอุทธรณ์ไว้ดำเนินการต่อไป ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะเหตุต้องห้ามอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องเพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคหรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภคภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก็ได้ ถ้าคู่ความยื่นคำขอดังกล่าวแล้วจะอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ไม่ได้ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคและศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภคให้เป็นที่สุด

การฎีกา

1. คดีที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคหรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภคมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว คู่ความอาจยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือในปัญหาข้อกฎหมาย ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคหรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภค
2. การยื่นคำร้องให้คู่ความยื่นฎีกาไปพร้อมกับคำร้องนั้นด้วย โดยยื่นต่อศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้น แล้วให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องพร้อมฎีกาดังกล่าวไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาโดยเร็ว ศาลฎีกาอาจอนุญาตให้ฎีกาได้เมื่อเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้นเป็นปัญหาซึ่งเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะหรือเป็นปัญหาสำคัญอื่นที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัยในคดีที่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลฎีกาเห็นว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคไม่ถูกต้อง

ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ศาลฎีกาจะมีคำวินิจฉัยแต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายและยกคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคหรือศาลชั้นต้น แล้วมีคำสั่งให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคหรือศาลชั้นต้นแล้วแต่กรณี ทำคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่ภายใต้กรอบคำวินิจฉัยของศาลฎีกาก็ได้

 

code

 

 

Web Counters

Page Rank